ยืนบนไหล่ยักษ์ BMA x Google Education

เมื่อหลายเดือนก่อนผมได้คุยกับ Google Education เรื่องการสร้างการเรียนรู้แบบ Active Learning โดย ใช้ Chromebook นำมาสร้างห้องเรียน Smart Classroom ให้ครูปรับการสอนมาใช้สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ วิธีนี้ที่ใช้ในหลายประเทศทั่วโลกกับนักเรียนกว่า 50 ล้านคนมาแล้ว ในเอเชียคือที่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เราเลยนำมาทดลองขยายผลกับนักเรียนใน กทม. ที่โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เริ่มต้น 1 ห้องเรียน นักเรียน 34 คน คุณครู 7 คน สอน 7 วิชาหลัก ใน 1 เทอม ใช้คอมพิวเตอร์ Chromebook ครูใช้สื่อการสอนออนไลน์ ส่งงานด้วย Workspace ใช้ Jamboard, Kahoot ฯล ฯ ประกอบการสอน และจะวัดผลสัมฤทธิ์ติดตามการสอนจากอาจารย์ประกอบ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการทำ Sandbox กำลังจะจบสิ้นเดือนนี้ครับ

วันนี้ผมเจอน้องคนนึงคุณครูบอกว่ามาสายตลอด บอกน้องมาเร็วขึ้นเพราะอยากรีบมาเรียน มาใช้คอมกับเพื่อน และน้องอีกคนที่เป็นเด็กพิเศษสามารถเรียนรวมกับน้องคนอื่นได้แบบไม่แตกต่าง

หลายครั้งพอพูดถึง Smart Classroom, Digital Classroom, สื่อสารสอนอิเล็กทรอนิกส์ หรือการเรียนแบบ Active Learning เรามักเริ่มต้นจากการใช้งบประมาณ แต่นวัตกรรมหลายเรื่องไม่จำเป็นต้องคิดใหม่และซื้อใหม่ทั้งหมด เราสามารถหยิบใช้ความสำเร็จจากประเทศอื่น เรียนรู้บนไหล่ยักษ์แบบนี้ เป็นการประหยัดงบประมาณเพราะ Google เป็น Software ฟรี ส่วนคอมพิวเตอร์เรากำลังมีโครงการร่วมกับเอกชน เพื่อแปลงคอมเก่าที่ยังสภาพดีมาใช้เพื่อการศึกษา ประหยัดงบประมาณภาครัฐในการซื้อสื่อและซื้ออุปกรณ์ที่ Cycle การเปลี่ยนแปลงเร็ว หากผลลัพธ์ออกมาดี เราจะนำมาขยายผลในโรงเรียนกทม.กันต่อครับ

ข้อมูลจากเพจ Facebook หวังสร้างเมือง