ผลการศึกษาพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ตรีเพชรฯ ร่วมสนับสนุนอุปกรณ์ พร้อมส่งเสริมความรู้สู่กทม.
(23 ก.ย.67) นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับมอบคอมพิวเตอร์พกพา ตามโครงการปันน้ำใจให้น้องได้เรียนรู้ จำนวน 20 เครื่อง จาก นายโกคิ โคชิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และนายวรวิทย์ เชาว์วีระประสิทธิ์ กรรมการ บริษัท ตรีเพชรไอทีโซลูชั่นส์ จำกัด และคณะ โดยมีโดยมีนางสาวศุภร คุ้มวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา นายดลจิตร์ เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการเขตราษฎร์บูรณะ และนางสาวสุวดี ไพอนนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตราษฎร์บูรณะ และโรงเรียนวัดบางปะกอก ร่วมเป็นเกียรติในการรับมอบดังกล่าว พร้อมกันนี้ทางบริษัทฯ ได้แนะนำการใช้งาน Google Suite และ Google Classroom ให้กับตัวแทนคุณครูโรงเรียนวัดบางปะกอก เพื่อสามารถนำอุปกรณ์และความรู้ที่ได้รับไปบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนดิจิทัล กรุงเทพมหานคร โดย สำนักการศึกษา ดำเนินโครงการปันน้ำใจให้น้องได้เรียนรู้ เพื่อรับการสนับสนุนคอมพิวเตอร์พกพาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สำหรับใช้จัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้กับนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ในการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก โดยในปี 2566 […]
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ รับมอบโน้ตบุ๊ค จาก เกรนเนย์
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับมอบคอมพิวเตอร์พกพา จำนวน 65 เครื่อง มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท จากคุณโสรัจ มหรรณพกุล ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูลเกิ้ล จำกัด จากโครงการ “กิจกรรมที่ไม่แสวงหาผลกำไร (CSR) เด็กติดเกมส์” เพื่อสนับสนุนโครงการปันน้ำใจให้น้องได้เรียนรู้ ของกรุงเทพมหานคร ในการส่งต่อเครื่องมือทางการศึกษาให้กับนักเรียนนำไปใช้เรียนรู้แบบ Active Learning ในการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 ณ สามย่านมิตรทาวน์ ข้อมูลจากเพจสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนกทม. รับมอบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จากกิจกรรมวิ่งการกุศล
Better Bangkok Run 2024
(17 ก.ค. 2567) นางสาวศุภร คุ้มวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ผู้แทนกรุงเทพมหานคร รับมอบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จำนวน 90 เครื่อง จากการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (AIS) นำโดยนายสมบัติ จันทร์กระจ่าง รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง และนางนิภา ธรรมบวร ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ร่วมกับ นายวทัญญู เสวิกุล ผู้แทนจาก AIS ส่งมอบให้กับโรงเรียนวัดบางปะกอก สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ โดยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในครั้งนี้มาจากกิจกรรมวิ่งการกุศล Better Bangkok Run 2024 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิ่ง ปั่น รักษ์โลก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนในรูปแบบ Activity-Based Learning และส่งเสริมทักษะดิจิทัล พัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นกำลังสำคัญในอนาคต ตามโครงการปันน้ำใจให้น้องได้เรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา […]
บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
(19 ม.ค. 67) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับมอบเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่หมดวาระการใช้งานและยังสภาพดี จำนวน 35 เครื่อง จากคุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สนับสนุนโครงการปันน้ำใจให้น้องได้เรียนรู้ เพื่อร่วมส่งต่อ “คอมเก่าสู่คนใหม่ เรียนรู้ไกลไม่สิ้นสุด” ให้กับนักเรียนกรุงเทพมหานคร โดยมี นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายภิมุข สิมะโรจน์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนางสาวพิสมัย เรืองศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ร่วมรับมอบ ณ บริเวณหน้าห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครขอขอบคุณบริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ที่ได้มอบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ใช้แล้วและยังมีสภาพดีเพื่อประโยชน์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งโครงการ “คอมเก่าสู่คนใหม่ เรียนรู้ไกลไม่สิ้นสุด” ของกรุงเทพมหานครมีเป้าหมายเพื่อช่วยลด E-waste หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ […]
กทม.รับมอบคอมพิวเตอร์พกพา พาการศึกษาที่ดีกว่าสู่โรงเรียนในสังกัด ลดความเหลื่อมล้ำจากรุ่นสู่รุ่น
(3 พ.ย. 66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานในพิธีรับมอบคอมพิวเตอร์พกพา ตามโครงการปันน้ำใจให้น้องได้เรียนรู้ ณ โรงเรียนวัดพิชัย เขตบึงกุ่ม ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า เรื่องการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญมากของกรุงเทพมหานคร เวลาคนพูดถึงกทม. มักจะพูดถึงการเก็บขยะ น้ำท่วม ฝุ่น PM2.5 แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มากของกทม. เพราะเมืองคือศูนย์รวมความเหลื่อมล้ำ เพราะเมืองก็ต้องมีคนหลากหลายที่มาขับเคลื่อนเมือง มีตั้งแต่ซีอีโอไปจนถึงแม่บ้าน รปภ. คนกวาดถนน เพราะฉะนั้น ถามว่าเราจะลดความเหลื่อมล้ำของคนได้อย่างไร หลักง่าย ๆ คือให้รุ่นลูกดีกว่ารุ่นพ่อแม่ แต่ว่ารุ่นลูกจะดีกว่าพ่อแม่ได้อย่างไร ก็คือการศึกษาอย่างเดียว เราเห็นได้ชัดเจนเลย เช่น พี่น้องเราที่เป็นคนกวาดถนนที่สมัยก่อนอาจไม่ได้รับการส่งให้เรียนสูงมาก แต่สามารถส่งลูกเรียนจบปริญญาตรีแล้วลูกกลับมาส่งเสียพ่อแม่ให้อยู่สบายขึ้น เกิดเรื่องการขยับลดความเหลื่อมล้ำลง ดังนั้นการศึกษา หัวใจที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเรื่องอื่นเลย และทีมบริหารของเราก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งเรามีการทดลองไปแล้วเมื่อปีที่แล้วที่โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เราเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็น Active Learning มีแล็ปท็อปทุกคน มีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างครูกับนักเรียนซึ่งเด็ก ๆ ชอบมาก อยากมาเรียนหนังสือมากขึ้น “โครงการปันน้ำใจให้น้องได้เรียนรู้ นี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะปรับการศึกษาได้ ผมเชื่อว่าคนจำนวนมากมีแล็ปท็อปเก่าเป็นขยะอยู่ที่บ้านก็เอามาบริจาคได้หรือเป็นเครื่องใหม่ก็ได้ ทางเราก็จะปรับปรุงประสิทธิภาพให้ ขอบคุณทาง […]
Google จับมือกรุงเทพมหานคร ร่วมสนับสนุนการลดช่องว่างดิจิทัลในภาคการศึกษา ต่อยอดก้าวสู่ห้องเรียนดิจิทัลอย่างยั่งยืน
กรุงเทพมหานคร ผนึกกำลัง Google ประเทศไทย หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย และภาคเอกชน เพื่อร่วมสนับสนุนการลดช่องว่างดิจิทัลในภาคการศึกษา ต่อยอดก้าวสู่การเป็นห้องเรียนดิจิทัลด้วยกระบวนการที่ยั่งยืนสำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้วยการรวบรวมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เก่าที่ได้รับการบริจาคมาจากองค์กรต่างๆ โดยหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยเป็นตัวแทนในการประกาศรับบริจาคจากสมาชิกของหอการค้าฯ และ Google รับหน้าที่ในการใช้พลังของระบบปฏิบัติการ ChromeOS Flex เพื่อแปลงโฉมคอมพิวเตอร์เก่าเหล่านั้นให้กลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความรวดเร็วและปลอดภัย รวมทั้งจะทำการฝึกอบรมฟรีให้แก่ทุกโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยคาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้า จะได้รับบริจาคคอมพิวเตอร์เก่าจำนวน 130,000 เครื่อง เพื่อนำมาช่วยสร้างการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้กับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาที่ 4 – ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน ซึ่งครอบคลุมถึง 437 โรงเรียน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสาธารณสุข เป็นสองมิติที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งโครงการรับบริจาคคอมพิวเตอร์จากประชาชนและภาคเอกชนมาเป็นคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนรู้ของเด็กๆ ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครนั้น นับเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้รับและผู้ให้ ที่นอกจากผู้บริจาคจะได้ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในองค์กรจากคอมพิวเตอร์เก่าที่มีอายุการใช้งานเกิน 3-5 ปีแล้ว ยังสามารถส่งต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมาปรับใช้ใหม่ให้มีจำนวนเพียงพอแก่นักเรียนเพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ในทุกวิชา และครูก็สามารถจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น พร้อมส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลและสามารถนำไปต่อยอดการทำงานในอนาคตได้อีกด้วย ในวันนี้ กรุงเทพมหานครจึงร่วมมือกับ […]
กทม. เดินหน้าโครงการ “ส่งคอมพ์เก่าเพื่อน้อง” สร้างโอกาสทางการศึกษา
กรุงเทพมหานคร (กทม.) เชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ไม่ใช้แล้ว แต่ยังมีสภาพดีพร้อมใช้ ส่งต่อให้น้อง ๆ นักเรียนไปใช้งานต่อ โครงการ “ส่งคอมพ์เก่าเพื่อน้อง” เชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ไม่ใช้แล้ว แต่ยังมีสภาพดีพร้อมใช้ ส่งต่อให้น้อง ๆ นักเรียนไปใช้งานต่อ โดยสำนักการศึกษาจัดทำโครงการ “ส่งคอมพ์เก่าเพื่อน้อง” เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนในสังกัด กทม. ได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คอมพิวเตอร์ที่ได้รับการบริจาค ได้ทดลองนำร่องใช้งานที่โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เขตบางเขน พบว่านักเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กประกอบการเรียนมีการเรียนรู้แบบ Active Learning คือมีความสนใจในการเรียน และมีสมาธิขณะเรียนมากขึ้น “นโยบาย Digital Classroom เดิมเป็นนโยบายเพื่อจัดหา Tablet เพื่อการเรียนรู้ แต่พอมาทำงานเห็นว่า คอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ดีกว่า จึงเป็นที่มาการรับบริจาคคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีทั้งหมดประมาณ 130,000 คน ซึ่งเป็นช่วงวัยนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ กทม. จึงมีนโยบายเริ่มให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ โดยเป้าหมายช่วงแรกได้ทำร่วมกับเอกชน จัดหาคอมพิวเตอร์จำนวน 2,200 เครื่อง และจะขยายให้ครบตามเป้าหมายต่อไป” นายศานนท์ รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร […]
Active Learning คือการเรียนที่นักเรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อครู
Active Learning คือการเรียนที่นักเรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อครู แต่ในอดีตการพูดเรื่องนี้ ภาระหน้าที่ทั้งหมดตกไปสู่ครู กทม. จึงนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบเพื่อลดภาระหน้าที่ของครู . กรุงเทพมหานคร ได้เตรียมแผนสำหรับการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่มีการทดลองในโรงเรียนไทยนิยมศึกษาเพื่อขยายไปยัง 437 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร . โดยกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับเครือข่าย นำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คและ Software มาใช้ในการเรียนการสอนของนักเรียนในระดับชั้น ป. 1 ของโรงเรียนไทยนิยมศึกษา ซึ่งผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากนักเรียนเป็นอย่างดี และด้านการวัดผลการเรียน ผลการเรียนของนักเรียนยังดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากเพจสำนักการศึกษา
เปิดห้องเรียนดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีช่วยพัฒนาสมรรถนะครู และ นักเรียน พร้อมศึกษาแนวทางต่อยอดครบ 437 โรงเรียน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมโรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เขตบางเขน ชมการเรียนการสอนตามโครงการห้องเรียนดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนสู่พลเมืองโลกด้วยเทคโนโลยี GOOGLE WORKSPACE FOR EDUCATION AND CHROMEBOOK โดยมีผู้บริหารสำนักการศึกษา สำนักงานเขตบางเขน บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ดิ เอสเคิร์ฟ จำกัด และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวในการตรวจเยี่ยมว่า ครูมีเนื้อหาวิชาในรูปแบบดิจิทัลอยู่แล้วและเคยมีประสบการณ์การสอนออนไลน์ในช่วงโควิด 19 โดยจะเน้นกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำ สร้างผลงาน ช่วงแรกครูอาจจะเหนื่อย แต่ในระยะยาวจะดีขึ้น เบื้องต้นผลตอบรับดี เด็กอยากใช้ต่อ ประสิทธิภาพการเรียนดีขึ้น เช่น ภาษาอังกฤษ การฝึกออกเสียง ซึ่งหากขยายไปโรงเรียนระดับประถมศึกษาสามารถทำได้ไม่มีปัญหาเพราะใช้คอมพิวเตอร์เก่า หรือกรุงเทพมหานครจัดหาเพิ่มเติมบางส่วน การทำสำเร็จห้องเดียวไม่มีความหมาย ต้องขยายไปทั้ง 437 โรงเรียน โดยปีหน้าจะขยายไปให้ครบทุกโรงเรียนในเด็กชั้น ป.4 โจทย์ใหญ่คือ เราต้องไม่หลงอยู่กับความสำเร็จเพียงห้องเดียว ทำอย่างไรจะขยายไปให้ครบทุกห้องเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกัน ตอนนี้มีอยู่หลักร้อย […]